วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ส้มแขก


ชื่อวิทยาศาสตร์
Garcinia atroviridis Griff.
Garcinia cambogia
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ส้มแขกเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทรงพุ่มคล้ายกรวย ใบโตและผิวใบเป็นมัน มีก้านใบยาว ปลายใบ
แหลม มีสีเขียวแก่ ออกดอกตามปลายยอด ลักษณะดอกเหมือนกับดอกมังคุด ต้นมีทั้งเพศผู้และเพศ
เมีย ผลส้มแขกมีสีเหลืองสด ลักษณะผลกลมค่อนข้างแป้น มีกลีบเลี้ยงสีเขียวที่ขั้วผล จำ นวน 5 กลีบ
ส่วนบนของผลบริเวณขั้วผลมีลักษณะกว้างและเป็นร่องตื้นๆ คล้ายผลฟักทอง เมื่อผลแก่จัดสามารถปริแตกตามเสี้ยวได้ง่าย มีผนังบางติดแน่นกับส่วนเนื้อผล ผลอ่อนจะมีสีเขียวและกลายเป็นสีเหลืองเข้มเมื่อผลแก่ มีรสเปรี้ยว เนื่องจากมีกรดไฮดรอกซีซิตริก (Hydroxycitric acid) มีเมล็ดแบนๆ ประมาณ ผลละ 2-3 เมล็ด

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บุกเนื้อทราย


ชื่อวิทยาศาสตร์
Amorphophallus oncophyllus Prain
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บุกเนื้อทรายเป็นพืชหัวประเภทล้มลุก หัวใต้ดิน (ลำ ต้นจริง) ลักษณะกลมแป้น ลำ ต้นสูงประมาณ 1 เมตรลักษณะอวบนํ้า ผิวเรียบ ลำ ต้นมีสีและลายแตกต่างกัน ใบเกิดบริเวณปลายสุดของต้น แยกเป็น 3ก้าน แต่ละก้านมี 2 ใบย่อย ลักษณะพิเศษที่บุกเนื้อทรายแตกต่างกับบุกชนิดอื่นๆ คือ จะมีหัวบนใบเกิดขึ้นตรงแยกก้านใบที่ปลายสุดของลำ ต้น ตรงจุดแยกระหว่างใบย่อยและตรงจุดแยกเส้นใบขนาดใหญ่ของริ้วใบย่อย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายนํ้าดี pH 5-6.5
แสงแดดรำ ไร หรือมีการพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์
ต้องไม่มีลมพัดแรง เพราะต้นบุกหักล้มง่าย
ปริมาณนํ้าฝนระดับปานกลางควรมีแหล่งนํ้าสำ รองหลังฝนทิ้งช่วง

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กราวเครือ


ชื่อวิทยาศาสตร์
Pueraria mirifica Airy Shaw & Suvatabandhu.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กราวเครือเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ เนื้อแข็ง ผลัดใบ มีหัวใต้ดินคล้ายหัวมันแกว ก้านใบหนึ่งใบมีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับกัน เนื้อใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นๆ ประปราย ดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ดอกมีสีส้ม ฝักเล็กแบนบางคล้ายฝักถั่ว มีเมล็ด 3-5 เมล็ด/ฝัก
พันธุ์
กวาวเครือที่ใช้กันมากมี 2 พันธุ์ คือ กวาวเครือขาวและกวาวเครือแดง
กวาวเครือขาว มักพบมีหัวลักษณะกลม มียางสีขาว มีสารออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง
ต้นเป็นเครืออาศัยพันต้นไม้อื่นหรือเลื้อยตามดิน
กวาวเครือแดง มักพบหัวมีรูปร่างยาว มีสรรพคุณเสริมสุขภาพของบุรุษ ต้นขึ้นจากดินโดย
ไม่ต้องอาศัยพันต้นไม้อื่น

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ไพล


ชื่อวิทยาศาสตร์
Zingiber cassumunar Roxb.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไพลเป็นไม้ล้มลุก มีลำ ต้นใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมเฉพาะ ลำ ต้นเทียมแทงจากใต้ดินขึ้นมา ใบออกตรงข้ามกัน มีปลายแหลมโคนใบแผ่เป็นกาบใบหุ้มลำ ต้น ดอกเป็นช่อสีขาวมีกาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งรองรับ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ควรเป็นดินเหนียวปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีการระบายนํ้าดี หลีกเลี่ยงดินลูกรังและพื้นที่นํ้าขัง
ปลูกได้ทั้งที่แจ้งและที่ร่มรำ ไร

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มะแว้งเครือ


ชื่อวิทยาศาสตร์
Solanum trlobatum Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะแว้งเครือเป็นไม้เลื้อยหรือไม้พุ่ม กิ่งเลื้อยยาว 2-5 เมตร มักมีหนามโค้งแหลมและสั้น ใบอาจเรียบ
หรือมีหนามเล็กๆ ดอกสีม่วง ผลมีลักษณะกลมขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ปลูกได้ดีในสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ถ้ามีนํ้าพอเพียงสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี
ชอบดินร่วนระบายนํ้าดี มีอินทรีย์วัตถุพอสมควร
การเตรียมแปลงปลูก
ไถพรวนดิน กำ จัดเศษวัชพืชและใส่ปุ๋ยคอก ไถพรวนดินอีกครั้งคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้น
ปรับพื้นที่ให้เรียบ

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พริกไทยสมุนไพรพื้นบ้าน


ชื่อวิทยาศาสตร์
Piper nigrum Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พริกไทยเป็นพืชที่อยู่ตระกูลเดียวกับดีปลี ชะพลู พลู เป็นไม้เลื้อยยืนต้น ลำ ต้นมีความสูง
ประมาณ 5 เมตร เถาของพริกไทยจะมีราก เรียกว่า ตีนตุ๊แก เกาะพันกับไม้ค้างหรือพืชชนิดอื่น เถาจะ
มีข้อพองมองเห็นได้ชัด ใบจะออกสลับกัน ลักษณะเป็นใบรีใหญ่ ดอกจะออกเป็นช่อจากข้อ ผลมี
ลักษณะกลมออกเป็นพวง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ชอบอากาศอบอุ่นและมีความชื้นสูง
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีอินทรีย์วัตถุมาก มีการระบายนํ้าดี
ดินสภาพค่อนข้างเป็นกรด ค่า pH ประมาณ 6-6.5

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง


ชื่อวิทยาศาสตร์
Derris scandens Benth.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เถาวัลย์เปรียงเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เถามักจะบิดเนื้อไม้สีมีวงเข้ม ซึ่งมี 2 ชนิด คือชนิดแดง(เนื้อสีแดงวง
สีแดงเข้ม) และชนิดขาว (เนื้อออกสีนํ้าตาลอ่อนๆ วงสีนํ้าตาลไหม้)
ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่กลับ ผิวเรียบมันเขียว ขอบเรียบ
ดอกเล็กเป็นช่อพวงระย้า สีขาว
ฝักยาวออกเป็นพวง

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บอระเพชร


ชื่อวิทยาศาสตร์
Tinospora tuberculata Beumee., Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook. F.& Thoms
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เถา เถากลม ผิวมีเม็ดตุ่มถี่ๆ ตลอดเถา
ใบเดี่ยว รูปหัวใจปลายแหลมเรียบ
ดอกเป็นช่อสีเหลือง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่ชอบดินร่วนซุย
ไม่ชอบแดดจัด ควรปลูกในฤดูฝน

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรเพชรสังฆาต

 
ชื่อวิทยาศาสตร์



Cissus quadrangularis Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เพชรสังฆาตเป็นไม้เถาเลื้อย เถารูปสี่เหลี่ยมเป็นปล้องๆสีเขียวอ่อนค่อนข้างอวบนํ้า ตรงข้อเล็กรัดตัวลง มีมือยึดออกจากข้อ
ใบเดี่ยว ทรงสามเหลี่ยมปลายมน ออกที่ข้อๆ ละ 1 ใบ ใบค่อนข้างหนา อวบนํ้า ผิวใบ
เรียบ
ดอกกลมเล็กสีแดงเขียว เป็นช่อเล็ก ออกตามข้อ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ขึ้นได้ทั่วไปในดินแทบทุกชนิด
ชอบดินร่วนและที่ร่มรำ ไร ชอบชื้นแต่ไม่แฉะ