วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมุรไพรขมิ้นชัน


ชื่อวิทยาศาสตร์
Curcuma longa Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นชันเป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีส่วนของลำ ต้นใต้ดิน เรียกว่าเหง้า ซึ่งมีส่วนประกอบของนํ้ามันหอมระเหยและสารให้สี ทำ ให้เหง้ามีสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นเฉพาะ ลำ ต้นเหนือดินสูง 30-90 เซนติเมตร
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
- ชอบอากาศร้อนชื้น ดินร่วนปนทรายระบายนํ้าดี ไม่ชอบดินเหนียวและดินลูกรัง
- ปลูกในที่กลางแจ้ง
การเตรียมดินปลูก
- ไถพรวนหรือขุดดินเพื่อให้ดินร่วนซุย
- ถ้าดินระบายนํ้าดี ไม่จำ เป็นต้องยกร่อง

การเตรียมเหง้าพันธุ์
- คัดเลือกหัวพันธ์ที่มีอายุ 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำ ลาย
- แบ่งหัวพันธุ์ โดยการหั่น ขนาดของเหง้าควรมีตาอย่างน้อย 3-5 ตา หรือแง่งมีนํ้าหนัก 15-50 กรัม
- แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำ จัดแมลง เช่น เพลี้ยหอยด้วยมาลาไธออน หรือ
คลอไพรีฟอส 1-2 ชั่วโมง ตามอัตราแนะนำ
- ชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำ จัดเชื้อราก่อนปลูก
การปลูก
- ควรปลูกในฤดูฝนช่วงเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม เพราะฤดูอื่นขมิ้นชันจะพักตัวไม่งอก
- ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถว 30 x 30 เซนติเมตร
- ขุดหลุมขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 15 x 15 x 15 เซนติเมตร
- ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ประมาณหลุมละ 200 กรัม (1 กระป๋องนม)
 - นำหัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินหนา 5 เซนติเมตร
- คลุมแปลงด้วยฟางหรือหญ้าคา หนาประมาณ 2 นิ้ว เพื่อป้องกันการงอกของวัชพืช และรักษาความชื้นในดิน จากนั้นรดนํ้าให้ชุ่ม
การดูแลรักษา
- ช่วงอายุ 1 ½-2 เดือน เมื่อกำ ลังเจริญเติบโตทางด้านลำ ต้นใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา ½ ช้อนแกง (15 กรัม)/ต้น
- ช่วงอายุ 3-4 ½ เดือน เมื่ออยู่ในระยะสะสมอาหาร ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกง (30 กรัม) /ต้น
การป้องกันกำ จัดโรค
- อาจพบโรคเน่าเหง้ายุบ ในระยะขมิ้นอยู่ในแปลงและทิ้งใบหมดแล้ว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา
Fusarium solani ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงไม่ปลูกซํ้าในพื้นที่เดิมติดต่อกันเกิน 2-3 ปี
การเก็บเกี่ยว
- เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 9-11 เดือน (ธันวาคม-กุมภาพันธ์)
- ห้ามเก็บเกี่ยวในระยะที่มีขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำ ให้มีสาร curcumin ตํ่า
- วิธีการเก็บใช้จอบขุด ถ้าดินแข็งรดนํ้าให้ชุ่มก่อน ปล่อยให้ดินแห้งหมาดๆ แล้วจึงขุด
          - เคาะเอาดินออกจากหัว แล้วใส่ตะกร้าแกว่งล้างนํ้าอีกรอบ
ผลผลิต
- ผลผลิตสด 3,000 กิโลกรัม/ไร่
อัตราการทำ แห้ง
- ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง เท่ากับ 6 : 1
ส่วนที่ใช้ประโยชน์
          - เหง้าสด, แห้ง
สาระสำคัญ
- นํ้ามันหอมระเหย เช่น Turmerone, Zingiberene, Borneol และ Curcumin
สรรพคุณ
- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น