วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง


ชื่อวิทยาศาสตร์
Derris scandens Benth.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เถาวัลย์เปรียงเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เถามักจะบิดเนื้อไม้สีมีวงเข้ม ซึ่งมี 2 ชนิด คือชนิดแดง(เนื้อสีแดงวง
สีแดงเข้ม) และชนิดขาว (เนื้อออกสีนํ้าตาลอ่อนๆ วงสีนํ้าตาลไหม้)
ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่กลับ ผิวเรียบมันเขียว ขอบเรียบ
ดอกเล็กเป็นช่อพวงระย้า สีขาว
ฝักยาวออกเป็นพวง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ชอบดินเหนียวไม่ชอบดินทราย ชอบสภาพชื้นแต่ไม่แฉะ
การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ด
การปลูกและการดูแลรักษา
ใช้เมล็ดแก่ที่มีสีนํ้าตาล (เมล็ดแก่ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) แกะเปลือกนอกของ
เมล็ดออก นำ ไปเพาะในถุงชำ ถุงละ 2-3 เมล็ด รดนํ้าให้ชุ่ม
เมื่อตัดต้นสูงประมาณ 1 คืบ นำ ลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ถ้า
หากไม่เพาะลงถุงจะปลูกตรงจุดที่ต้องการเลยก็ได้ พร้อมทำ ซุ้มบริเวณที่ปลูก เถาวัลย์เปรียงได้เลื้อยเกาะด้วย
การเก็บเกี่ยว
เริ่มเก็บเกี่ยวได้ เมื่ออายุ 3-5 ปี
เลือกเถาแก่ซึ่งจะมีสีเทา และมีจุดคล้ายเกล็ดสีขาวๆ เถามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ขึ้นไป
ตัดให้เหลือเถาไว้ 1-2 ศอก เพื่อให้แตกขึ้นใหม่ ตัดได้ประมาณ 2 ปีต่อครั้ง
นำ เถามาสับเป็นแว่นๆ หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ตากแดด 3-5 วัน หรืออบให้แห้ง
ผลผลิต
ผลผลิตสด 3-5 ตัน/ไร่ ผลผลิตแห้ง 0.7-1.25 ตัน/ไร่
อัตราส่วนทำ แห้ง
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง เท่ากับ 4 : 1
ส่วนที่ใช้ประโยชน์
เถา
สาระสำ คัญ
ไม่มีรายงาน
สรรพคุณ
แก้ปวดเมื่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น