วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พริกไทยสมุนไพรพื้นบ้าน


ชื่อวิทยาศาสตร์
Piper nigrum Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พริกไทยเป็นพืชที่อยู่ตระกูลเดียวกับดีปลี ชะพลู พลู เป็นไม้เลื้อยยืนต้น ลำ ต้นมีความสูง
ประมาณ 5 เมตร เถาของพริกไทยจะมีราก เรียกว่า ตีนตุ๊แก เกาะพันกับไม้ค้างหรือพืชชนิดอื่น เถาจะ
มีข้อพองมองเห็นได้ชัด ใบจะออกสลับกัน ลักษณะเป็นใบรีใหญ่ ดอกจะออกเป็นช่อจากข้อ ผลมี
ลักษณะกลมออกเป็นพวง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ชอบอากาศอบอุ่นและมีความชื้นสูง
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีอินทรีย์วัตถุมาก มีการระบายนํ้าดี
ดินสภาพค่อนข้างเป็นกรด ค่า pH ประมาณ 6-6.5

การเตรียมแปลงปลูก
ในกรณีเป็นที่บุกเบิกใหม่ ควรไถหน้าดินให้ลึกประมาณ 40-60 เซนติเมตร แล้วไถพรวน
หน้าดินอีกครั้ง เพื่อให้หน้าดินเรียบสมํ่าเสมอ ไม่ให้เป็นแอ่งในแปลง
การขยายพันธุ์
การปักชำ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด
การเตรียมเสาค้าง
ใช้ค้างซีเมนต์ระยะห่าง 2X 2 เมตร หากใช้ไม้ยืนต้นเป็นไม้ค้างควรใช้ระยะปลูก 2 X 3
เมตร หรือ 2.5 x 2.5 เมตร
ในกรณีที่ใช้ค้างซีเมนต์ ผู้ปลูกต้องใช้กระสอบป่านหุ้มค้างไว้เพื่อเก็บรักษาความชื้นและ
เป็นที่ยึดเกาะของรากพริกไทย
การปลูก
ควรปลูกช่วงฤดูฝน
ขุดหลุมปลูกขนาด กว้าง X ยาว X ลึก 50 X 50 x 60 เซนติเมตร
นำ ต้นพริกไทยที่เตรียมไว้วางลงในหลุมให้เอียงเข้าหาค้าง ฝังดินลงไปประมาณ 2 ข้อ
และอีกประมาณ 3 ข้ออยู่เหนือผิวดิน
การดูแลรักษา
ควรพรวนดินก่อนฤดูหลังการเก็บเกี่ยวพร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และควรให้นํ้าอย่างน้อย
อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ตัดแต่งกิ่งที่ไม่ดีออกบ้าง เช่น กิ่งแก่หรือกิ่งที่หัก
ศัตรูและการป้องกันกำ จัดศัตรู
เพลี้ยงแป้ง มักพบมีการระบาดในช่วงฤดูฝน โดยการกำ จัดนั้นควรใช้สารเคมีพวกเซฟวิน
หรือมาลาไธออนทุก 7-10 วัน/ครั้ง
เพลี้ยอ่อน ทำ ลายโดยการดูดกินนํ้าเลี้ยงต้นพริกไทย การกำ จัดจะใช้สารเคมีเช่นเดียวกับ
เพลี้ยแป้ง
โรครากเน่าเกิดจากเชื้อรา จะทำ ให้เถาและใบเหี่ยวแล้วต้นพริกไทยจะตายไปในที่สุด การ
ป้องกันกำ จัดเมื่อพบต้นเป็นโรคให้ขุดและเผาทำ ลายทิ้ง
การเก็บเกี่ยว
ผลพริกไทยช่อเดียวกันจะสุกเป็นสีแดงไม่เท่ากัน เมื่อพบว่ามีผลเริ่มสุกในช่อใดทำ การเก็บ ช่อนั้นมาทั้งช่อ การเก็บเกี่ยวผลหมดทั้งต้นในแต่ละปี จะใช้เวลาเก็บประมาณ 10 ครั้ง
ผลผลิต
ผลผลิตแห้ง 600 กิโลกรัม/ไร่
อัตราส่วนทำ แห้ง
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง เท่ากับ 3 : 1
ส่วนที่ใช้ประโยชน์
ผลแห้ง
สาระสำ คัญ
สารกลุ่ม monoterpene และ sesquiterpene
สรรพคุณ
แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น