วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บุกเนื้อทราย


ชื่อวิทยาศาสตร์
Amorphophallus oncophyllus Prain
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บุกเนื้อทรายเป็นพืชหัวประเภทล้มลุก หัวใต้ดิน (ลำ ต้นจริง) ลักษณะกลมแป้น ลำ ต้นสูงประมาณ 1 เมตรลักษณะอวบนํ้า ผิวเรียบ ลำ ต้นมีสีและลายแตกต่างกัน ใบเกิดบริเวณปลายสุดของต้น แยกเป็น 3ก้าน แต่ละก้านมี 2 ใบย่อย ลักษณะพิเศษที่บุกเนื้อทรายแตกต่างกับบุกชนิดอื่นๆ คือ จะมีหัวบนใบเกิดขึ้นตรงแยกก้านใบที่ปลายสุดของลำ ต้น ตรงจุดแยกระหว่างใบย่อยและตรงจุดแยกเส้นใบขนาดใหญ่ของริ้วใบย่อย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายนํ้าดี pH 5-6.5
แสงแดดรำ ไร หรือมีการพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์
ต้องไม่มีลมพัดแรง เพราะต้นบุกหักล้มง่าย
ปริมาณนํ้าฝนระดับปานกลางควรมีแหล่งนํ้าสำ รองหลังฝนทิ้งช่วง

การเตรียมแปลงปลูก
ไถดะและไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอก
การยกร่องขึ้นอยู่กับขนาดของหัวพันธุ์ คือ ตํ่ากว่า 400 กรัม โดยประมาณ ให้ยกร่อง
กว้าง 60 เซนติเมตร ถ้าหัวขนาดใหญ่กว่าให้ยกร่องกว้าง 80 เซนติเมตร ความสูงของร่อง
30 เซนติเมตร และระยะระหว่างร่อง 50 เซนติเมตร
การเตรียมหัวพันธ์
การปลูกด้วยหัวบนใบ คัดขนาดนํ้าหนัก 2.5 กรัม
การปลูกด้วยหัวใต้ดิน แบ่งหัวพันธุ์เป็นกลุ่มๆ ตามนํ้าหนักโดยประมาณ ดังนี้
- ขนาดใหญ่ นํ้าหนัก 400 กรัม/หัวขึ้นไป
- ขนาดกลาง นํ้าหนัก 200-400 กรัม/หัว
- ขนาดเล็ก นํ้าหนัก 50-200 กรัม/หัว
การปลูก
การปลูกด้วยหัวใต้ดิน
หัวพันธุ์ขนาดใหญ่ ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างต้น 40 X 40 เซนติเมตร (ร่องละ
2 แถว)
หัวพันธุ์ขนาดกลางและขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 30 X 30 เซนติเมตร (ร่องละ 2 แถว)
ฝังให้ส่วนหัวอยู่ลึกจากผิวดิน 5 เซนติเมตร โดยหน่อจะฝังดินหรือโผล่ขึ้นมาก็ได้
ให้นํ้าหลังปลูกทุก 3-5 วัน ในช่วงแล้ง
การปลูกด้วยหัวบนใบ
ใช้ระยะปลูก 30 X 20 เซนติเมตร
ขุดหลุมปลูกให้ลึกจากผิวดิน 3 เซนติเมตร โดยวางให้ส่วนที่มีขนาดใหญ่สุดตั้งขึ้นแล้วกลบ
ดิน
คลุมร่องนํ้าด้วยฟางเพื่อรักษาความชุ่มชื้น
ให้นํ้าหลังปลูกทุก 3-5 วัน ในช่วงแล้ง
การพรางแสง
ตั้งร้านให้สูงจากดินประมาณ 2 เมตร แล้วกางตาข่ายพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ คลุมทั้งแปลง
เลือกใช้ไม้ยืนต้นช่วยพรางแสง ควรใช้ไม้ใบเล็กที่ผลัดใบในฤดูแล้ง และมีใบโปร่งในฤดูฝน
มีอายุใบ 4-5 เดือน เช่น ประดู่อ่อน เป็นต้น
การดูแลรักษา
ในช่วงที่ฝนไม่ตกควรให้นํ้าทุก 3-5 วัน
หลังปลูก 1 เดือนครึ่ง ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่
หลังปลูก 3 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่
การกำ จัดวัชพืชต้องทำ อย่างต่อเนื่องและสมํ่าเสมอ โดยเฉพาะก่อนใส่ปุ๋ย ควรใช้มือถอน
วัชพืชบนร่อง หรือใช้จอบดายระหว่างร่องและกลบโคน ในการใช้จอบต้องระวังไม่ให้โดน
ต้นบุกด้วย
โรคแมลง
โรคเน่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora เข้าทำ ลายทั้งทางหัวใต้ดินและใบที่หักเป็นแผล หัวจะเน่าและมีกลิ่นเหม็นแล้วลามไปยังต้น ทำ ให้ต้นหักพับลงมา การป้องกัน
กำ จัดให้หมั่นตรวจสอบแปลงสมํ่าเสมอ ถ้าพบต้นเป็นโรคให้รีบขุดต้นและดินรอบๆ ทิ้ง
และทำ ลายเสีย แล้วโรยปูนขาว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ
การเก็บเกี่ยว
การเก็บหัวบนใบ เริ่มเก็บได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน โดยเก็บหัวที่ร่วงหล่นจาก
ต้นที่แห้งหมดสภาพแล้วเท่านั้น ต้นที่ใบยังสดจะยังไม่เก็บ นำ หัวบนใบที่ได้ไปผึ่งแดด 1-
2 วัน ใส่ถุงตาข่ายแขวนไว้ หรือใส่ตะแกรงวางเป็นชั้นๆ ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
การเก็บเกี่ยวหัวใต้ดินที่มีอายุ 2-3 ปี เก็บเกี่ยวเมื่อต้นบุกตายไปแล้วมากกว่า 90
เปอร์เซ็นต์ ประมาณเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน ควรขุดด้วนความระมัดระวัง และขุดทุก
ระยะของปากหลุมปลูก เพราะมีหัวขนาดแตกต่างกัน ถ้าดินแห้งนำ หัวบุกที่ขุดได้เก็บรวม
ไว้ในโรงเก็บได้เลย แต่ถ้าดินเปียกควรทิ้งไว้ในแปลงให้ดินแห้งร่วงหลุดจากหัว และห้าม
ล้างนํ้าก่อนเก็บเพราะหัวบุกเน่าเสียได้ง่าย
ผลผลิต
หัวสด 4-6 ตัน/ไร่
ส่วนที่ใช้ประโยชน์
หัว
สาระสำคัญ
• glucomanan
สรรพคุณ
เป็นสารให้เส้นใยอาหารสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น